ปวดหลังตอนมีประจำเดือน เป็นอาการที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดยเฉพาะ ในวัยทำงาน แต่ปัญหาปวดหลังนี้ไม่ได้เป็นเฉพาะกับคนที่ทำงานใช้ร่างกายหนัก ๆ หรือยืนเป็นระยะเวลานาน ๆ เท่านั้น หากแต่ปัญหาอาการปวดหลัง ที่เกิดก่อนการมีประจำเดือนก็เป็นปัญหากวนใจสาว ๆ ได้เหมือนกัน แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง ในระยะก่อนการมีประจำเดือน และมีผลกระทบอะไรกับชีวิต เราลองมาดูกัน

อาการ ปวดหลังตอนมีประจำเดือน
อาการ PMSหรืออาการก่อนมีประจำเดือนเป็นสิ่งที่ทรมานผู้หญิงทุกคนต้องประสบทุกเดือน ซึ่งอาการปวดเนื่องจากประจำเดือนมีอาการมาก-น้อยแตกต่างกัน บางครั้งอาจมีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนมามาก ๆ ร่วมกับอาการปวดอื่น ๆ
อาการปวดหลังในช่วงที่มีประจำเดือน ซึ่งถือว่าเป็นอาการาผิดปกติ และควรรีบปรึกษาสูตินรีแพทย์โดยด่วน เช่น
- มีอาการปวดหลัง ลามมาที่เอว เชิงกราน ก้นกบ และร้าวลงขา
- ปวดหลัง ปวดท้อง ในช่วงมีประจำเดือนมามาก และเป็นการปวดหนัก ๆ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่
เคยปวดแรงอย่างนี้มาก่อน
- อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน หรืออาการปวดท้องประจำเดือนรุนแรงขึ้นในทุก ๆ เดือน
- ปวดหลังหรือปวดท้องมากจนไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แม้จะกินยาแก้ปวดก็ยัง
ไม่หาย
- มีอาการปวดตลอดระหว่างที่มีประจำเดือน
- อาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนยังคงไม่หาย แม้ประจำเดือนจะหมดไปแล้ว
- ปวดหลังมากและประจำเดือนมาน้อยหรือมากผิดปกติ (เป็นประจำเดือน 2 วัน หรือเกิน 7 วัน)
- ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนพร้อมกับมีอาการตกขาวมาก ตกขาวมีกลิ่นเหม็น
- ปวดหลังระหว่างมีประจำเดือน ร่วมกับมีไข้สูง
- ปวดหลังหรือท้องน้อยข้างใดข้างหนึ่งมากเป็นพิเศษ
- ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนและสังเกตเห็นหน้าท้องบวมโตผิดปกติ ร่วมกับคลำก้อนที่ท้องได้
หากมีอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน ร่วมกับอาการผิดปกติเบื้องต้น แนะนำให้รีบไปพบสูตินรีแพทย์โดยเร็วที่สุด เพราะความผิดปกติดังกล่าวอาจเป็นผลจากความผิดปกติในช่องท้องส่วนล่าง (มดลูก, รังไข่, ปีกมดลูก?) เช่น ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ เนื้องอกในมดลูก การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน หรือมีอาการอักเสบที่อุ้งเชิงกรานก็เป็นได้
วิธีรักษาอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือน
หากเพื่อน ๆ กำลังประสบกับปัญหาปวดหลังในช่วงที่มีประจำเดือน ลองมาดูกันว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อบรรเทาอาการปวดหลังที่เป็นอยู่นี้ อะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ เรามาดูกัน
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อย่างถูกสัดส่วน โดยควรรับประทานผัก-ผลไม้ให้มาก โดยเฉพาะ
อาหารที่มีวิตามินบีและแมกนีเซียมสูง ลดอาหารเค็ม มัน รวมทั้งสารกระตุ้นอาการปวดอย่างเช่น กาแฟ ชา และแอลกอฮอล์

- ดื่มน้ำอุ่นให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว หรือจะดื่มเครื่องดื่มแก้ปวดประจำเดือนช่วยด้วยอีก
ทางก็ได้
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็นจัด หรือรับประทานอาหารที่มีความเย็น
- อาบน้ำอุ่น หรืออาจใช้แผ่นแปะชนิดร้อนแปะไว้ที่หลัง เพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อที่ตึง ซึ่งก่อให้เกิด
อาการปวด
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีงานวิจัยที่เผยว่า การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยลดอาการ
ปวดประจำเดือนรวมทั้งอาการปวดหลังช่วงมีประจำเดือนได้
- กินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวดประเภทไอบูโปรเฟน (ibuprofen) หรือยาแก้ปวด
ประจำเดือน เช่น พอนสแตน (Ponstan) ก็ได้ แต่ควรจะกินยาขนาด 250 มิลลิกรัมก็พอ และต้องกินหลังอาหารทันทีด้วย เนื่องจากยาแก้ปวดเหล่านี้มีฤทธิ์เป็นกรด
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อด้วยท่ายืดเหยียดร่างกาย หรือท่าโยคะแก้ปวดประจำเดือน
- นอนให้ถูกท่า เป็นวิธีแก้ปวดหลังช่วงมีประจำเดือนที่ทำได้ง่าย ๆ

เบื้องต้น หากเพื่อน ๆ มีอาการ ปวดหลังตอนมีประจำเดือน ลองปฏิบัติตามวิธีการข้างต้นดูก่อน หากช่วยบรรเทาอาการได้ ก็ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง แต่หากทำตามแล้ว อาการปวดหลังระหว่างมีประจำเดือนยังไม่หาย หรือเป็นซ้ำ ๆ หรือมีอาการปวดมากกว่าเดิม แนะนำให้รีบปรึกษาแพทย์ เพราะหากปล่อยทิ้งไว้ อาจจะนำไปสู่อาการโรคอื่น ๆ ก็เป็นได้ อย่างไรก็ดูแลรักษาสุขภาพของตนเองด้วยนะ
อ่านบทความ ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็นต้องรีบเช็ค
เครดิตรูปทั้งหมดจาก https://pixabay.com/th/