
ปวดตาข้างเดียว เป็นอาการที่ก่อให้เกิดความไม่สบายทั้งกายและใจ เนื่องจากอาการปวดรบกวนสมาธิในการดำเนินชีวิตประจำวัน บางครั้งปวดกระบอกตามาก ๆ ลามไปปวดศีรษะ รับประทานยาก็ไม่หาย เราลองมาหาสาเหตุของอาการปวดตาข้างเดียว และวิธีการรักษาอาการปวดตาข้างเดียวกันว่าจะป้องกันอาการเหล่านี้ได้อย่างไร
สาเหตุของอาการ ปวดตาข้างเดียว
สาเหตุของอาการ ปวดตาข้างเดียว อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ เช่น การอักเสบ หรือการติดเชื้อบริเวณดวงตา อาการเจ็บป่วยหรือผลกระทบจากอาการของโรคบางชนิด ก็อาจเป็นสาเหตุของอาการได้เช่นกัน การใช้สายตามากเกินไป ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
เรามาดูสาเหตุหลัก ๆ ของอาการปวดตาข้างเดียวกันว่าจะมีสาเหตุมาจากอะไรได้บ้าง
- อาการตาล้า เนื่องจากใช้สายตาเป็นเวลานานติดต่อกัน
- อาการตาแห้ง
- โรคตาแดง
- ดวงตาได้รับการบาดเจ็บ เช่น เป็นแผล หรือดวงตาได้รับการกระแทก
- มีวัตถุแปลกปลอมในดวงตา
- กระจกตาถลอก
- อาการอักเสบบริเวณเปลือกตา ม่านตา กระจกตา ตาขาว ผนังลูกตา หรือประสาทตา เป็นต้น
- อาการตากุ้งยิง
- ภาวะหนังตาม้วนออกด้านนอกหรือม้วนเข้าด้านใน
- โรคต้อหินชนิดเฉียบพลัน
- ต่อมน้ำตาอุดตัน
- ปัญหาจากคอนแทคเลนส์ เช่น อาการระคายเคือง
- ปัญหาจากโรคไซนัส เนื่องจากไซนัสอาจทำให้เกิดแรงกดด้านหลังลูกตา จนเกิดอาการปวดตาข้าง
ใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้างได้
- ปวดศีรษะไมเกรน หรือปวดศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headaches)
- ปวดฟันกราม
- โรคภูมิแพ้
- ไข้หวัด ที่มีอาการไข้สูง
ซึ่งอาการปวดตาข้างเดียวที่เกิดจากสภาวะความผิดปกติทางกายภาพภายนอกนั้น อาจตรวจหาสาเหตุได้ ไม่ยากนัก เช่น การที่ดวงตาถูกกระแทก หรืออาการบาดเจ็บที่เกิดกับดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง แต่หากเกิดอาการปวดตาข้างเดียวโดยไม่ทราบสาเหตุ เนื่องเพราะไม่ได้รับบาดเจ็บจากภายนอก ก็ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการต่อไป บางครั้งการใช้สายตามากเกินไป เช่น นั่งทำงานหน้าจอนาน ๆ หรือทำงานในที่แสงสว่างไม่เพียงพอก็อาจก่อให้เกิดอาการปวดตาข้างเดียวได้เช่นกัน เช่นนั้น เรามาดูวิธีการป้องกันการเกิดอาการปวดตาข้างเดียวกัน
วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดอาการปวดตาข้างเดียว

- หากต้องทำงานหน้าจอเป็นระยะเวลานาน ควรพักสายตาจากหน้าจอต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ จอ
ทีวี หรือจอคอมพิวเตอร์ โดยพักสายตาทุก ๆ 20 นาที ด้วยการมองไปที่ไกล ๆ ในระยะ 6 เมตรเป็นเวลา 20 วินาที แล้วจึงกลับมาทกงานต่อ การเลือกใช้จอที่ป้องกันแสงสะท้อนหรือใส่แว่นที่ตัดลำแสงสีฟ้า ก็เป็นอีกทางที่ช่วยป้องกันสายตาได้
- สวมแว่นตา เพื่อป้องกันดวงตาถลอก ไหม้ และป้องกันวัตถุแปลกปลอมหรือสารเคมีต่าง ๆ เข้าตา
ควรเลือกประเภทของแว่นตาให้เหมาะสมกับการใช้งาน เช่น ใช้แว่นนิรภัยเมื่อต้องตัดหญ้า หรือสัมผัสใกล้ชิดกับสารเคมีต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับผู้ที่ทำงานก่อสร้าง เชื่อมหรือตัดโลหะ ทำงานเกี่ยวกับยานยนต์ หรือสารเคมีอันตรายอย่างยากำจัดแมลง ควรสวมแว่นตานิรภัยที่ออกแบบโดยเฉพาะ

- ทำความสะอาดคอนแทคเลนส์ ควรทำความสะอาดคอนแทคเลนส์อย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรใส่คอน
แทคเลนส์นานเกินไป และควรสลับใส่แว่นตาบ้างบางครั้งเพื่อพักสายตา
- หลีกเลี่ยงสารก่ออาการแพ้ หากอาการปวดตาเกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการสัมผัส
หรือเข้าใกล้สารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้
- งดสูบบุหรี่ เพราะควันบุหรี่อาจสร้างความเสียหายต่อเส้นประสาทตา ทำให้เกิดต้อกระจกและจอ
ประสาทตาเสื่อมได้

- บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ควรเลือกบริโภคผักหรือผลไม้ที่เป็นสีเขียวหรือสีเหลืองเข้ม และ
ควรบริโภคปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 เช่น ปลาแซลมอน ปลาทูน่า และปลาชนิดอื่น ๆ ที่มีสารช่วยบำรุงดวงตาได้
- พบจักษุแพทย์เป็นระยะ โรคที่เกี่ยวข้องกับดวงตาบางชนิด เช่น โรคต้อหิน อาจไม่ปรากฏอาการใด
ๆ เลยในช่วงแรก การตรวจสุขภาพดวงตาเป็นประจำอาจช่วยให้ตรวจพบและรักษาโรคดังกล่าวได้ตั้งแต่ระยะเริ่มต้น
เนื่องจากดวงตาเป็นอวัยวะที่บอบบางและไม่สามารถหามาทดแทนได้ ดังนั้นหากเพื่อน ๆ มีอาการ ปวดตาข้างเดียว หรือมีอาการผิดปกติเกี่ยวกับดวงตาที่ไม่สามรถระบุสาเหคุได้ หรือแม้แต่อาการปวดตาข้างเดียวที่เรื้อรัง ไม่ควรปล่อยปละละเลย การปรึกษาจักษุแพทย์หรือแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุของโรค และรีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที จะเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด เพราะดวงตาบอบบางเกินกว่าจะละเลย ดังนั้นเราควรถนอมดวงตาของเราให้อยู่คู่กับเราไปอีกนาน ๆ
อ่านบทความ เคล็ดลับการดูแลสุขภาพ
เครดิตรูปภาพทั้งหมดจาก https://pixabay.com/th/