นอนไม่หลับ นั้นมีผลเสียต่อร่างกายมาก หากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ อาจเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน ไปจนถึงระยะยาว โดยทำให้เกิดโรคอันไม่พึงประสงค์ตามมาอีกมากมาย อย่างที่ทราบกันดีว่า โดยปกติ ร่างกายของคนเราต้องการการนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุและความสมบูรณ์ของร่างกาย เช่น เด็กทารกต้องนอนวันละ 16 ชั่วโมง วัยรุ่น 9 ชั่วโมง ผู้ใหญ่ 7-8 ชั่วโมง

แต่เนื่องด้วยปัจจัย และวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง เร่งรีบในปัจจุบัน วิถีการดำเนินชีวิตที่แตกต่างไปจากอดีต อีกทั้งปัจจัย และสิ่งเร้าจากภายนอกที่ส่งผลต่อร่างกาย และจิตใจของเรา ความเครียด ความเร่งรีบในการดำเนินชีวิต มลภาวะ การใช้ชีวิตที่ขาดสมดุล ล้วนแต่เป็นสาเหตุของอาการของ “โรคนอนไม่หลับ” หรือ Insomnia ซึ่งมีรูปแบบของอาการแตกต่างกันไป เช่น การนอนไม่หลับ นอนหลับไม่สนิท การนอนหลับๆ ตื่น ๆ การตื่นขึ้นกลางดึกและนอนไม่หลับ การตื่นเช้าผิดปกติ เป็นต้น เหล่านี้ล้วนทำให้เมื่อตื่นนอนตอนเช้า ร่างกายของเราจะรู้สึกไม่สดชื่น และหากปล่อยไว้นานไป อาจส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว
มาทำความรู้จักกับอาการนอนไม่หลับ
- ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น เสียงดัง แสงสว่าง หรือพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ทำให้นอนหลับยาก หาก
ห้องนอนของเราไม่อยู่ในภาวะที่เหมาะสมกับการนอนหลับ ควรปรับสภาพของห้องนอนให้เหมาะสม เช่น การติดผ้าม่านกันแสง การปิดประตู หน้าต่าง เพื่อลดเสียงรบกวน เป็นต้น
- อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย เช่น อาการปวดท้อง ความปวดตามร่างกาย โรคเกี่ยวกับการนอนหลับ มี
ปัญหาระบบทางเดินหายใจ อาการไข้หวัด ฯลฯ ซึ่งอาการเหล่านี้อาจเป็นปัจจัยให้ร่างกายไม่พร้อมที่จะพักผ่อน หรืออาจจะทำให้เกิดภาวะการนอนหลับแบบไม่ต่อเนื่อง

- ภาวะเครียด ความวิตกกังวล แรงกดดันจากการทำงาน หรืออาการซึมเศร้า ความเครียดที่สะสมจาก
สภาวะแวดล้อม หรือจากการงานที่ทำ ความหมดหวังในการใช้ชีวิต การยึดติดกับอดีต หรือสภาวะจิตใจที่ไม่ผ่อนคลาย เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยจากสิ่งเร้าภายนอกที่กระทบต่อจิตใจทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ การผ่อนคลายด้วยการออกกำลังกาย หรือการทำสมาธิอาจจะช่วยลดสภาวะเหล่านี้ได้
- แอลกอฮอล์ และคาเฟอีนในกาแฟ บุหรี่ รวมถึงการใช้ยาบางชนิด ซึ่งอาจส่งผลเกี่ยวกับการนอน
หลับ หากหลีกเลี่ยงได้ ควรหลีกเลี่ยง การดื่มกาแฟ ไม่ควรดื่มเกินวันละ 2 แก้ว หรือไม่ควรดื่มกาแฟในเวลาค่ำ เพราะจะกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ตื่นตัวและนอนไม่หลับในที่สุด แต่หากเกี่ยวกับการใช้ยา ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางรักษาต่อไป

- ท้องว่าง คงปฏิเสธไม่ได้จริง ๆ ว่าความหิว มีผลกระทบต่อการเข้านอนของเรา เพราะเมื่อกระเพะ
หลั่งน้ำย่อยออกมา จะมีการหลั่งสารเคมีในสมอง เพื่อสั่งการให้สมองสั่งร่างกายให้หาอาหารรับประทาน ซึ่งความหิวนี้ ทำให้ร่างกายกระสับกระส่าย และส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่หลีบในที่สุด แต่หากเรารับประทานอาหารมื้อค่ำจนอิ่มมากเกินไป จะทำให้มีอาการแน่นท้อง ซึ่งก็อาจส่งผลให้นอนไม่หลับอีกเช่นกัน
- ภาวะการนอนหลับไม่สนิท เช่น การนอนละเมอ ฝันร้าย ซึ่งบางครั้งส่งผลต่อการนอน เพราะเป็น
ความผิดปกติที่เกิดจากจิตใต้สำนึก ทำให้เกิดการขัดจังหวะในการนอน เกิดอาการหลับไม่สนิท ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการนอนไม่พอได้เช่นกัน

- หน้าที่การงานที่กระทบต่อเวลาการในการเข้านอน เช่น การทำงานเป็นกะ ซึ่งต้องมีการเปลี่ยนกะ
เข้างาน ทำให้เปลี่ยนแปลงเวลาในการนอน ซึ่งส่งผลให้ร่างกายปรับตัวไม่ได้ และทำให้นอนไม่หลับได้ ซึ่งเหตุปัจจัยนี้ ค่อนข้างยากต่อการหลีกเลี่ยง จึงทำได้เพียงปรับตัวให้เคยชินเท่านั้น
วิธีแก้ไขอาการ นอนไม่หลับ
จากปัจจัยข้างต้นที่ทำให้เกิดภาวะนอนไม่หลับ เรามาลองดูวิธีการแก้ปัญหาการนอนไม่หลับกัน
- การเลือกที่นอนให้เหมาะสม ที่นอนต้องไม่แข็งหรือนุ่มเกินไป รองรับสรีระได้อย่างเหมาะสม
- บรรยากาศที่เหมาะสมต่อการพักผ่อน เช่น เงียบสงบ ไม่มีแสงรบกวน อุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ร้อน
หรือหนาวเกินไป และควรปิดเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดขณะนอนหลับ
- ผ่อนคลายกล้ามเนื้อก่อนเข้านอน เช่น การนวดให้ร่างกายผ่อนคลาย หรือการแช่น้ำอุ่น
- เมื่อรู้สึกง่วงควรเข้านอนทันที และควรเข้านอนให้เป็นเวลาทุกคืน เพราะร่างกายมีนาฬิกาประจำตัว
การทำกิจวัตรต่าง ๆ อย่างเป็นเวลา จะทำให้ร่างกายจดจำและเป็นตารางชีวิต ทำให้ร่างกายมีความสมดุลและเป็นผลดีต่อสุขภาพในระยะยาวอีกด้วย

5. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก หรืออาหารที่ย่อยยากก่อนนอน เพราะจะทำให้ปวดท้อง เนื่องจากมีอาการ
กรดไหลย้อน หากท้องว่างให้รับประทานอาหารเบาๆ เช่น ขนมปังชิ้นเล็ก นมอุ่น ๆ หรือน้ำผลไม้ หากนอนไม่หลับ ให้หากิจกรรมเบา ๆ ทำ เช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง หรือนั่งสมาธิ เมื่อรู้สึกง่วงให้รีบเข้านอน ควรทำสมองให้โล่ง ปลอดโปร่ง ไม่นำเรื่องราวต่าง ๆ ในแต่ละวันมาคิดก่อนถึงเวลานอน
6. กลิ่นหอมบำบัด เช่น การจุดน้ำมันหอมระเหย เทียนหอม กลิ่นหอมอ่อน ๆ หรือกลิ่นจากพืชบาง
ชนิด ช่วยให้ผ่อนคลาย เช่น กลิ่นวานิลลา กลิ่นลาเวนเดอร์ กลิ่นยูคาลิปตัส กลิ่นพิมเสน หรือกลิ่นคา
โมมายล์ ที่ช่วยให้จิตใจสงบ ปลอดโปร่ง และผ่อนคลาย ทำให้หลับสบาย

7. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มประเภท กาแฟ หรือชาที่มีคาเฟอีน หรือน้ำอัดลม เพราะมีฤทธิ์กระตุ้น
ระบบประสาท ทำให้นอนไม่หลับ ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะช่วยในเรื่องการนอนหลับก็ตาม แต่หากดื่มมากไปอาจส่งผลต่อร่างกายได้
8. ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ร่างกายเกิดการผ่อนคลาย สมองปลอดโปร่ง แต่ไม่ควร
ออกกำลังกายก่อนนอน เพราะจะทำให้ร่างกายตื่นตัว นอนไม่หลับ
ทั้งนี้หากเราอดนอน หรือพักผ่อนไม่เพียงพอ จะส่งผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานผิดปกติ และเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคต่าง ๆ เช่น ความดันโลหิตสูง และปัญหาด้านระบบหลอดเลือดหัวใจ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีผลต่อการเจริญเติบโต การซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอมีประสิทธิภาพลดลง ฟื้นตัวจากอาการป่วยได้ช้าลง ร่างกายอ่อนเพลีย ทำให้ระบบเผาผลาญทำงานไม่สมบูรณ์ ร่างกายต้องการอาหารมากขึ้น ทำให้เกิดอาการป่วย เช่น คลื่นใส้ ปวดศีรษะ ท้องผูกหรือท้องเสีย กล้ามเนื้อทำงานไม่ปกติ มีผลต่อจิตใจและอารมณ์ เช่น อารมณ์แปรปรวน มีอาการซึมเศร้า เฉื่อยชา หมดพลังในการทำงาน การพักผ่อนนอนหลับอย่างเต็มที่นั้นถือว่ามีความสำคัญอย่างมากต่อร่างกาย ไม่แพ้เรื่องการบริโภคหรือการออกกำลังกายเลยทีเดียว เราจึงต้องให้ความสำคัญกับการนอนหลับอย่างเพียงพอเพื่อสุขภาพที่ดีของตัวเราเอง
อ่านบทความ 10 วิธีแก้แฮงค์ สำหรับสายเที่ยว ตี้เก่ง
เครดิตรูปภาพจาก www.pixabay.com