ตับแข็ง มีสาเหตุมาจากอะไรรู้และป้องกันก่อนที่จะเกิด

ตับแข็ง มีสาเหตุมาจากอะไร

Table of Contents

ตับแข็ง (cirrhosis) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นของโรคตับ ซึ่งเกิดจากการที่ตับได้รับความเสียหายและเกิดแผลเป็นอย่างถาวร มีลักษณะเฉพาะคือการมีเนื้อเยื่อพังผืดเกิดขึ้นในเนื้อตับ ส่งผลให้การทำงานของตับลดลง ไม่ว่าจะเป็นการผลิตโปรตีน การเก็บสะสมสารสำคัญและแร่ธาตุต่างๆ การทำลายสารพิษ รวมทั้งปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่านตับด้วย

ทำความรู้จักกับโรค ตับแข็ง

ตับแข็ง 1

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคตับแข็งมีด้วยกันหลากหลายสาเหตุ ไม่เพียงแค่การดื่มจัดที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งได้เท่านั้น แต่อาการติดเชื้อไวรัส หรือภาวะผิดปกติของเนื้อเยื่อของตับก็ทำให้เกิดอาการตับแข็งได้ ลองมาดูสาเหตุของการเกิดภาวะตับแข็งกัน

  • โรคพิษสุราเรื้อรัง เกิดจากการดื่มแอลกฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน
  • โรคไวรัสตับอักเสบบี ซี และดีโรคตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเอง
  • โรคเนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติภาวะท่อน้ำดีอุดตัน 
  • ทำให้น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับส่งผลทำลายเนื้อตับจนเป็นตับแข็งได้
  • ภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งทำให้เกิดตับอักเสบเรื้อรังจนอาจกลายเป็นตับแข็งได้
  • การรับประทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานานการได้รับสารพิษบางชนิดภาวะหัวใจล้มเหลวหลายครั้งติดต่อกัน

อาการของภาวะตับแข็ง

ตับแข็ง2

ผู้ป่วยที่มีภาวะตับแข็ง อาจไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยมาก หรืออาจมีอาการเนื่องจากภาวะแทรกซ้อนตามระยะของโรค ทั้งนี้อาการที่อาจพบได้ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ไม่อยากอาหาร ในบางครั้งอาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ น้ำหนักลด ในผู้หญิงอาจมีอาการประจำเดือนมาผิดปกติ ในผู้ชายอาจมีเต้านมขยายใหญ่ขึ้นพร้อมอาการปวด สมรรถภาพทางเพศลดลง ขาบวมหรือท้องโตขึ้น เนื่องจากโปรตีนอัลบูมินถูกผลิตน้อยลง ส่งผลให้มีน้ำสะสมในขาหรือท้อง ฟกช้ำหรือเลือดออกได้ง่าย เนื่องจากมีการผลิตโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็งตัวลดลง 

อาการดีซ่าน หรือ อาการตัวเหลืองตาเหลือง ซึ่งเกิดจากการสะสมเม็ดสีของน้ำดี มีอาการคันที่ผิวหนังอย่างรุนแรง เนื่องจากสารประกอบของน้ำดีถูกฝังอยู่ในผิวหนัง มีอาการทางสมอง เนื่องจากตับไม่สามารถกรองสารพิษออกมาได้ จึงเริ่มสะสมในเลือด โดยสัญญาณแรกของการสะสมสารพิษในสมองอาจสังเกตได้จากการที่ผู้ป่วยละเลยการดูแลตนเอง ไม่มีอาการตอบโต้ ลืมง่าย ไม่มีสมาธิมีความไวต่อยาและผลข้างเคียง เนื่องจากในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ตับจะไม่สามารถกรองยาออกจากเลือดได้ในอัตราปกติ ตัวยาจึงออกฤทธิ์นานขึ้นและสะสมอยู่ในร่างกาย

มีเลือดออกอย่างรุนแรงในกระเพาะอาหารส่วนบนหรือหลอดอาหาร เนื่องมาจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ ซึ่งจัดเป็นอาการที่รุนแรงและอันตราย แพทย์ต้องรีบหยุดเลือดโดยเร็ว

ตับแข็ง 3

เคล็ดลับการรักษา ตับแข็ง

  1. งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  2. หลีกเลี่ยงการใช้ยาและสารที่เป็นอันตรายต่อตับ
  3. หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารดิบ โดยเฉพาะอาหารทะเล เนื่องจากอาจมีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิด

การติดเชื้อที่รุนแรง

  1. รับประทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม โดยควรรับประทานโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น ปลา หรือ

โปรตีนจากพืช (เช่น ถั่วเหลือง) เป็นต้น

  1. หากมีอาการบวมที่ข้อเท้าและท้อง ควรจำกัดเกลือและอาหารรสเค็ม
  2. เข้ารับการฉีดวัคซีนสำหรับโรคไวรัสตับอักเสบเอและบี ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม เนื่องจาก

ผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อที่รุนแรงมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพดี

  1. พบแพทย์เพื่อติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

ตับนับว่าเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญ เพราะตับหลั่งน้ำดีที่ย่อยสลายไขมัน หากตับทำงานผิดปกติ ร่างกายก็จะไม่สามารถย่อยสลายไขมันได้ ระบบต่าง ๆ ในร่างกายก็จะผิดปกติไปหมด หากเป็นไปได้ เราควรตรวจสุขภาพประจำปี เพื่อตรวจดูว่าอวียวะใดมีอาการผิดปกติหรือไม่ เพื่อจะได้ป้องกัน รักษาได้ทันท่วงที

อ่านบทความ ปวดตาข้างเดียว

เครดิตรูปภาพทั้งหมดจาก  https://pixabay.com/th/​

เว็บตรงสล็อต

ufabetflix285

เว็บสล็อตแตกง่ายที่สุด

บทความล่าสุด..

Tags
กลิ่นตัวแรง (1) กลิ่นตัวแรงทำไงดี (1) การรักษาออฟฟิศซินโดรม (1) ดูแลสุขภาพ (34) ตกขาว (1) ตกขาวเยอะทำไงดี (1) ตับแข็ง (1) ตับแข็งเกิดจากอะไร (1) ต่อมลูกหมากโต (3) ต่อมลูกหมากโตเป็นยังไง (1) นอนไม่หลับ (1) นอนไม่หลับทำไงดี (1) น้องชายไม่แข็ง (1) ประจำเดือน (3) ประจำเดือนมาผิดปกติ (1) ประจำเดือนมีกลิ่นเหม็น (1) ปวดตาข้างเดียว (1) ปวดตาข้างเดียวเกิดจากอะไร (1) ปวดท้องประจำเดือน (1) ปวดท้องประจำเดือนทำไงดี (1) ปวดประจำเดือน (1) ปวดหลังตอนมีประจำเดือน (1) ปวดหัวไมเกรน (1) ปวดหัวไมเกรนคืออะไร (1) ปัญหาสุขภาพผู้ชาย (1) ผมร่วง (3) ผู้ชายกลิ่นตัวแรง (1) มะเร็งปากมดลูก (3) วิธีดูแลสุขภาพ (1) วิธีรักษาไมเกรน (1) วิธีแก้แฮงค์ (1) สุขภาพผู้ชาย (25) สุขภาพผู้หญิง (25) ออฟฟิศซินโดรม (2) อาการต่อมลูกหมากโต (1) อาการออฟฟิศซินโดรม (1) อาการไมเกรน (1) อาหารลดตกขาว (1) อาหารเพิ่มความสูง (1) ฮีทสโตรก (2) เสื่อมสมรรถภาพ (1) แก้แฮงค์ (1) แพ้ผ้าอนามัย (1) แฮงค์ (1) โรคโลหิตจาง (2)

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

แฟชั่นผู้ชาย
maleextratoday

แบบบ้าน
baan-design

แต่งงาน
weddingdistrictfrance

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์
liqinfo